กัญชา (ยา) marijuana.

สรรพคุณ ของกัญชา หรือ ทางเลือกใหม่ หรือว่า ดาบสองคม  ดำ หรือ ขาว  กัญชา เป็นยาวิเศษ จริงหรือ ไม่.
ประวัติศาสตร์
ดูเหมือนมีการนำกัญชาเข้าสู่ประเทศไทยจากประเทศอินเดีย โดยอ้างหลักฐานจากความคล้ายของชื่อไทยกับคำว่า गांजा (ganja) ในภาษาฮินดี[1] เดิมกัญชาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนประกอบอาหาร เครื่องเทศ ยาและเป็นแหล่งของเส้นใย[2]
กัญชาเป็นสมุนไพรพื้นบ้านหลายศตวรรษก่อนถูกห้ามในคริสต์ทศวรรษ 1930 ทราบกันว่าผู้ใช้แรงงานใช้กัญชาเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าใช้เพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ของหญิงได้[3]
พระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. 2477 กำหนดให้การครอบครอง ขายและใช้กัญชาเป็นความผิดตามกฎหมาย[4] กฎหมายอีกสองฉบับที่มีความสำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518[5]
การใช้กัญชาทางการแพทย์ คือการใช้กัญชาหรือสารแคนนาบินอยด์ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่งใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ต่อผู้ป่วย[1][2] เป็นแนวทางการรักษาที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างที่ถ้วนเนื่องจากข้อจำกัดทางการผลิตและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[3] มีหลักฐานอยู่เล็กน้อยที่บ่งชี้ว่ากัญชาอาจสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด เพิ่มความรู้สึกอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ และลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้[4][5][6]
ผลข้างเคียงในระยะสั้นมีหลายอย่างทั้งแบบเล็กน้อยและแบบรุนแรง[5] ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่อาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อาเจียน และประสาทหลอน[5] ผลข้างเคียงระยะยาวยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน[5] มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความจำและความคิด เสี่ยงต่อการติดยา ทำให้เกิดโรคจิตเภทในคนอายุน้อย และเสี่ยงต่อการมีเด็กมาใช้โดยบังเอิญ[4]
กัญชา หรือ ต้นกัญชาโดยตั้งใจใช้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค[1] ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา[2] ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV)[3][4] และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)
มนุษย์มักบริโภคกัญชาเพื่อผลที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสรีรวิทยาของมัน ซึ่งรวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย[5] และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น[6] ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งรวมถึงความจำระยะสั้นลดลง ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง[5] และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล[7]
ปัจจุบันกัญชาใช้เป็นยานันทนาการหรือยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาหรือวิญญาณ มีบันทึกการใช้กัญชาครั้งแรกตั้งแต่สหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[8] นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 กัญชาถูกจำกัดตามกฎหมาย โดยปัจจุบันการครอบครอง การใช้หรือการขายการเตรียมกัญชาปรุงสำเร็จซึ่งมีแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก สหประชาชาติแถลงว่า กัญชาเป็นยาผิดกฎหมายที่ใช้มากที่สุดในโลก[9][10] ในปี 2547 สหประชาชาติประมาณการบริโภคกัญชาทั่วโลกชี้ว่าประมาณ 4% ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก (162 ล้านคน) ใช้กัญชาทุกปี และประมาณ 0.6% (22.5) ใช้ทุกวัน[11]
สารในกัญชา.
เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (อังกฤษ:Tetrahydrocannabinol) รู้จักกันในชื่อ THC หรือ Δ9-THC หรือ Δ9-เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (delta-9-tetrahydrocannabinol) หรือ Δ1- เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล หรือ โดรนาบินอล (dronabinol) เป็น สารที่มีฤทธ์ต่อจิตประสาท (psychoactive substance) ธรรมชาติพบใน พืชจำพวกกัญชา (Cannabis) แคนนาบิส ซาติวา (Cannabis sativa) แคนนาบิส อินดิก้า (Cannabis indica) ในรูปบริสุทธิ์เป็นของแข็งคล้ายแก้วในที่เย็น และจะเป็นของเหลวข้นเหนียวเมื่อโดนความร้อน ละลายน้ำได้ช้า แต่จะละลายได้ดีใน เอตทานอล (ethanol) หรือ เฮกเซน (hexane)
ในทางเภสัชวิทยา เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลออกฤทธ์โดยการเชื่อมกับ แคนนาบินอยด์ รีเซพเตอร์(cannabinoid receptor) CB1 ที่อยู่ในสมอง การค้นพบว่ามีแคนนาบินอยด์ รีเซพเตอร์ แสดงว่าร่างกายสามารถสร้างสารคล้ายเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลได้เอง (endogenous) ซึ่งเรียกว่าแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) และสารแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างคือ อะนันดาไมด์(anandamide) และสารใกล้เคียงกับมัน คล้ายกับโอปิออยด์ ที่เหมือนสารประกอบในฝิ่นโอปิแอต ที่ร่างกายสร้างซึ่งได้แก่ เอ็นดอร์ฟิน (endorphins) เอนคีฟาลิน (enkephalins)และ ไดนอร์ฟิน (dynorphin)
ผลของเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลต่อร่างกายคือ
การผ่อนคลาย (relaxation)
ความรู้สึกสบาย,ความเคลิบเคลิ้ม (euphoria)
มีความรู้สึกตาหวานและคอแห้ง
ประสาทสัมผัสรับรสของอาหารได้ดีขึ้น
ร่างกายอ่อนเพลียเมื่อรับสารthcในปริมาณที่มาก
กระตุ้นให้อยากอาหาร
(อังกฤษ: hemp oil) หรือ น้ำมันเมล็ดกัญชง กัญชา (hempseed oil) เป็นน้ำมันพืชสกัดจากเมล็ดกัญชง โดยที่สกัดเย็นและไม่ทำให้บริสุทธิ์เพิ่มจะมีสีคล้ำจนถึงสีเขียวใส ๆ มีรสชาติออกจะคล้ายถั่ว สียิ่งคล้ำเท่าไร รสชาติก็จะออกคล้าย ๆ หญ้ายิ่งเท่านั้น ไม่ควรสับสนน้ำมันนี้กับน้ำมันกัญชา (สกุล Cannabis) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลจากดอกกัญชา ซึ่งนักวิชาการบางท่าน[1] อ้างว่ามีคุณสมบัติทางการแพทย์[2]
น้ำมันบริสุทธิ์จะใสและไร้สี จืด และไม่มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีตามธรรมชาติ มักใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ ในทางอุตสาหกรรม น้ำมันใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น สี หมึก เชื้อเพลิง และพลาสติก และยังใช้เพื่อผลิตสบู่ แชมพู และผงซักฟอกอีกด้วย น้ำมันมีอัตราส่วนกรดไขมันจำเป็นโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ที่ 3:1[3] สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซลปริมาณมาก ๆ[4]
ประมาณ 49% ของเมล็ดโดยน้ำหนักเป็นน้ำมันที่รับประทานได้[7] 76% จากนั้นเป็นกรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันโอเมกา-6 รวมทั้งกรดลิโนเลอิก (LA, 54%) และกรดลิโนเลนิกแกมมา (GLA, 3%), กรดไขมันโอเมกา-3 คือกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA, 17%) นอกเหนือไปจากไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (5-11%) และ stearidonic acid (2%)[8] น้ำมันเมล็ดกัญชงมีไขมันอิ่มตัว 5-7%[7][8] เมื่อเทียบกับน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารอื่น ๆ น้ำมันกัญชงมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ก็ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี/กรัมเหมือนน้ำมันอื่น ๆ
น้ำมันกัญชง กัญชา มีจุดก่อควัน (smoke point) ค่อนข้างต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ผัด/ทอด ดังนั้น จึงใช้โดยหลักเพื่อรับประทานหรือเป็นอาหารเสริม
แหล่งที่มา: อ้างอิง// วิกิพีเดีย.
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C
___________________________
ท่านใดสนใจ ข้อมูล เชิงลึก  กรุณา ติดต่อมา ทางไลน์ .
ID Line :  nooknui2009
โทร. 089 266 1654  หนุ่ย.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดห้วยเกี๋ยง ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ (ศูนย์รักษาเเละบำบัดผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต เพื่อให้มีการช่วยเหลือตัวเองได้)

ขาย เตียงนอน ขนาด 3.5ฟุต ทำจาก ไม้หอม ไม้สน (ไม้เกี๊ยะ)